วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประโยชน์คอมพิวเตอร์ด้านการศึกษา


 การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา คือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในกิจการด้านการศึกษา ประกอบด้วยงานหลัก 4 ระบบ

1. คอมพิวเตอร์เพื่อบริหารการศึกษา (Computer for Education Administration) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารงานด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารงานด้านการศึกษาประกอบด้วยครู ผู้เรียน และเจ้าหน้าที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เป็นต้น

2. คอมพิวเตอร์เพื่อบริการการศึกษา (Computer for Education Service) หมายถึง การบริการการศึกษา ด้านต่าง ๆ เช่น การบริการสารสนเทศการศึกษา

3. คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน (Computer Assisted Instruction) หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในกิจกรรมการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาต่างๆ

4. การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) เป็นการศึกษา การสอน/การฝึกอบรมเกี่ยวกับความรู้ความสามารถ และทักษะการใช้คอมพิวเตอร์โดนตรงรวมทั้งการประยุกต์ใช้ และเจตคติต่อคอมพิวเตอร์และ ICT


ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

1. ทันสมัย / ทันเหตุการณ์ / ทันข้อมูลข่าวสาร / ทันโลก ช่วยให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก

2. ช่วยให้การเรียน การทำงาน ทันสมัยและไรับความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น ได้เรียนรู้จากสื่อที่ทันสมัยที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์
    ที่เรียกว่า โปรแกรม CAI

3. เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม ช่วยในการค้นคว้าหาความรู้เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่

4. ช่วยรับ - ส่งข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว

5. ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น เกม ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง ร้องเพลง

6. ช่วยสร้างงานศิลปะ ออกแบบชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์ สวยงาม

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. ประโยชน์ทางตรง

        ช่วยให้มนุษย์ทำงานได้โดยตรงคือคอมพิวเตอร์ทำงานได้เที่ยงตรง รวดเร็ว ไม่เหน็ดเหนื่อย ช่วยผ่อนแรงมนุษย์ ในด้านต่าง ๆ
เช่น ด้านการคำนวณ พิมพ์งาน บันทึกข้อมูล ประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในแวดวงใน หากนำคอมพิวเตอร์เข้าช่วยงาน
จะช่วยแบ่งเบาภาระงานได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ

2. ประโยชน์ทางอ้อม

        คอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น ช่วยในการเรียนรู้ให้ความปันเทิงความรู้ ช่วยงานบันเทิงพัฒนางานด้านต่าง ๆ
เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอันส่งผลให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น เป็นต้น



ประวัติและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์

[ ประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ] ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการคำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด ( Abacus)

ลูกคิด ( Abacus)

[ พ.ศ. 2158 ] นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการคำนวณขึ้นมาเรียกว่า Napier’s Bones เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน
[ พ.ศ.2173 ] วิลเลียม ออตเทรต( William Oughtred) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์ไม้บรรทัดคำนวณ ( Slide Rule) ซึ่ง ต่อมากลายเป็นพื้นฐานของการสร้างคอมพิวเตอร์แบบอนาลอก
[ พ.ศ.2185 ] เบลส์ ปาสคาล ( Blaise Pascal) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องบวกลบขึ้น โดยใช้หลัการหมุนของฟันเฟือง และการทดเลขเมื่อฟันเฟืองหมุน ไปครบรอบ โดยแสดงตัวเลขจาก 0-9 ออกที่หน้าปัด


Pascal’s Calculato
[ พ.ศ.2214 ] กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz ) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ปรับปรุงเครื่องคิดเลขปาสคาล ให้ทำงานได้ดีกว่าเดิม และเขายังค้นพบเลขฐานสอง (Binary number)

กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz )

[ พ.ศ.2288 ] โจเซฟ แมรี่ แจคคาร์ด ( Joseph Marie Jacquard) เป็นชาวฝรั่งเศสได้คิด เครื่องทอผ้า โดยใช้คำสั่งจากบัตรเจาะรูควบคุมการทดผ้าให้มีสีและลวดลายต่าง ๆ

บัตรเจาะรู

[ พ.ศ.2365 ] ชาร์ล แบบเบจ ( Charles Babbage) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องหาผลต่าง ( Difference Engine) เพื่อใช้คำนวณและพิมพ์ ค่าทางตรีโกณมิติและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ แบบเบจได้พยายามสร้าง เครื่องคำนวณอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า Analytical Engine โดยมีแนวคิดให้แบ่งการทำงานของเครื่องออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล (Store unit), ส่วนควบคุม (Control unit) และส่วนคำนวณ (Arithmetic unit) ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการนำมาใช้เป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จึงยกย่องแบบเบจ ว่าเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค ( Lady Ada Augusta Lovelace ) เป็นนักคณิตศาสตร์ที่เข้าใจผลงานของแบบเบจ ได้เขียนวิธีการใช้เครื่องคำนวณของแบบเบจเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ต่อมา เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก

Differnce Engine

[ พ.ศ.2393 ] ยอร์จ บูล ( George Boole) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้คิดระบบ พีชคณิตระบบใหม่เรียกว่า Boolean Algebra โดยใช้อธิบายหลักเหตุผลทางตรรกวิทยาโดยใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ True (On) และ False (Off) ร่วมกับเครื่องหมายในทางตรรกะพื้นฐาน ได้แก่ NOT AND และ OR ต่อมาระบบเลขฐานสอง และ Boolean Algebra ก็ได้ถูกนำมาดัดแปลงให้เข้ากับวงจรไฟฟ้า ซึ่งมีสภาวะ 2 แบบ คือ เปิด , ปิด จึงนับเป็นรากฐานของการออกแบบวงจรในระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน (Digital Computer)
[ พ.ศ.2480-2481 ] ดร.จอห์น วินเซนต์ อตานาซอฟ ( Dr.Jobn Vincent Atansoff) และ คลิฟฟอร์ด แบรี่ ( Clifford Berry) ได้ประดิษฐ์เครื่อง ABC ( Atanasoff-Berry) ขึ้น โดยได้นำหลอดสุญญากาศมาใช้งาน ABC ถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกที่เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

Atansoff

ABC computer

Berry

[ พ.ศ.2487 ] ศาสตราจารย์โอเวิร์ด ไอด์เคน (Howard Aiken) แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ร่วมกับวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็มได้สร้างเครื่อง MARK I เป็นผลสำเร็จ แ ต่อย่างไรก็ตามเครื่อง MARK I นี้ยังไม่ใช่คอมพิวเตอร์ที่แท้จริงแต่เป็นเครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านั้น
[ พ.ศ.2485-2495 ] มหาวิทยาลัยเพนซิลเลเนียได้สร้างเครื่อง ENIAC (Electronic Numerical Integrator And Calculator) นับได้ว่าเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลกที่ใช้หลอดสูญญากาศ และควบคุมการทำงานโดยวิธีเจาะชุดคำสั่งลงในบัตรเจาะรู


ENIAC

[ พ.ศ.2492 ] ดร.จอห์น ฟอน นิวแมนน์ ( Dr.John Von Neumann ) ได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บคำสั่งการปฏิบัติงานทั้งหมดไว้ภายในเครื่อง ชื่อว่า EDVAC นับเป็นคอมพิวเตอร์เครี่องแรกที่สามารถเก็บโปรแกรม ไว้ในเครื่องได้

EDVAC 
(first stored program computer)

[ พ.ศ.2496-2497 ] บริษัทไอบีเอ็มได้สร้างคอมพิวเตอร์ชื่อ IBM 701 และ IBM 650 โดยใช้หลอดสุญญากาศเป็นวัสดุสร้าง ต่อมาเกิดมีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นสารกึ่งตัวนำขึ้นที่ห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell Telephone ได้เกิดทรานซิสเตอร์ตัวแรกขึ้น ต่อมาทรานซิสเตอร์ได้ถูกนำไปแทนหลอดสูญญากาศ จึงทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลงและเกิดความร้อนน้อยลง (เครื่องที่ใช้ทรานซิสเตอร์ได้แก่ IBM 1401และ IBM 1620 )

หลอดสูญญากาศ (Vacuum tube)
ทรานซีสเตอร์ (Transistor)

[ พ.ศ.2508 ] วงจรคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงอีกมากเมื่อมีวงจรรวม ( Integrated Circuit: IC) เกิดขึ้น ซึ่งไอบีเอ็มนี้ได้ถูกนำไปแทนที่ทรานซิสเตอร์ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของระบบคอมพิวเตอร์อีกครั้ง ซึ่งผลก็คือทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง

IC

[ พ.ศ.2514 ] บริษัท Intel ได้ใช้เทคโนโลยีของการผลิตวงจรรวมแบบ ( Large Scale Integrated Circuit :LSI ) ทำการรวมเอาวงจรที่ใช้เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ( CPU) ของคอมพิวเตอร์มาบรรจุอยู่ในแผ่นไอซีเพียงตัวเดียวซึ่ง ไอซีนี้เรียกว่าไมโครโปรเซสเซอร์ ( Microprocessor)

Microprocessor

[ พ.ศ.2506] ประเทศไทยเริ่มมีคอมพิวเตอร์ใช้เป็นครั้งแรก โดยที่คอมพิวเตอร์เครื่องแรกในประเทศไทยได้ติดตั้งที่ ภาควิชาสถิติ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้คือ IBM 1620 ซึ่งได้รับมอบจากมูลนิธิเอไอดี และบริษัทไอบีเอ็ม แห่ง ประเทศไทยจำกัด ปัจจุบันหมดอายุการใช้งานไปแล้ว จึงได้มอบให้แก่ศูนย์บริภัณฑ์การศึกษาท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ
[ พ.ศ.2507] เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สองของประเทศไทยติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนมีนาคม 2507



ที่มา http://www.thaicyberpoint.com/ford/blog/id/193/


ส่วนประกอบภายในคอมพิวเตอร์

 เมนบอร์ด (Mainboard) หมายถึง แผงวงจรหลัก ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย แต่ส่วนที่สำคัญคือ
                   •       ชิปเซ็ต(Chipset) คอยทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ 
                   •       บัส (Bus) ที่เป็นเส้นทางเดินของข้อมูล 
                   •       สล็อต(Slot) เป็นช่องที่ใช้เสียบการ์ดต่าง ๆ                          
                   •       ซ็อคเก็ต (Socket) เป็นช่องที่ใช้ติดตั้งซีพียู 
                   •       ฯ ล ฯ    


MainBoard_1.jpg


ซีพียู (CPU) เป็นส่วนที่เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์ เป็นที่ติดตั้งอุปกรณ์ภายในของคอมพิวเตอร์ เช่น เมนบอร์ด เพาเวอร์ซัพพลาย ตลอดจนการ์ดต่างๆ เป็นต้น


Cpu_1.jpg

 แรม (RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ทำหน้าที่จดจำข้อมูลในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์กำลังทำงาน แต่เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลเหล่านั้นก็จะหายไป   ดังนั้นหากมีงานใดที่สำคัญต้องการเก็บบันทึกไว้ใช้ในคราวต่อไป จะต้องจัดเก็บหรือบันทึกข้อมูลเหล่านั้น ไว้ใน หน่วยความจำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ ฟลอปปี้ดิสก์ ซีดีรอม เป็นต้น


Ram.jpg


 ฮาร์ดดิสก์ (Mouse) เป็นหน่วยความจำรอง ที่ใช้เก็บบันทึกข้อมูลทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไฟล์งานที่ทำจากโปรแกรมต่าง ๆ ไฟล์รูปภาพ ไฟล์เสียง ไฟล์ภาพยนต์ ไฟล์เพลง MP3 เป็นต้น เนื่องจากมีความจุข้อมูล 40-80 กิกะไบต์ ซึ่งถือว่ามากกว่าสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่น ๆ


Hd.jpgHdd.jpg

  ฟลอปปี้ดิสก์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและเก็บบันทึกข้อมูลขนาดเล็กที่อยู่ในแผ่นดิสก์ มีความจุข้อมูล 1.44 เมกะไบต์

Fdd.jpg

 ซีดีรอม (Mouse) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลจากแผ่น ซีดีรอม ไม่ว่าจะเป็นแผ่นซีดีเพลง ซีดีภาพยนต์ ซีดีรูปภาพ ฯลฯ มีความจุข้อมูล 650 - 800 เมกะไบต์


Cd_Rom.jpg

 วีจีเอ การ์ด (Mouse) หรือที่เรียกว่า การ์ดจอภาพ ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณภาพ   


card-vga.jpg


  ซาวด์ การ์ด (Mouse) หรือที่เรียกว่า การ์ดเสียง ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณเสียง

Sound.jpg








วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความหมาย Hardware/Software


Hardware


     (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่แตกต่างกันไปตามคุณลักษณะของ องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ ดังนี้

1) หน่วยรับเข้า  ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอาจส่งผ่านอุปกรณ์ รับเข้าข้อมูลโดยตรง เช่น เมาส์ , แผงแป้นอักขระ, ปากกาแสง, ก้านควบคุม ฯลฯ หรือส่งผ่านอุปกรณ์ รับเข้าข้อมูลทางอ้อม เช่น เครื่องขับ, แผ่นบันทึก , เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เป็นต้น
2) หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ไมโครโพรเซสเซอร์ ของไมโครคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูล เก็บไว้ในหน่วยความจำมาแปลความหมาย และ กระทำตามคำสั่งพื้นฐานของไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งแทนได้ด้วยรหัสเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วย หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณและหน่วยตรรกะ
3) หน่วยส่งออกหรือหน่วยแสดงผล ซึ่งประกอบด้วย จอภาพ (Monitor) ลำโพง (Speaker) และเครื่องพิมพ์ (Printer)


Software



      ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “ โปรแกรม ” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น


องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

 คอมพิวเตอร์ ( Computer )  เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์และไอซี  ( Integrated  Circuit: IC )   ต่างๆมากมาย  ซึ่งสามารถจดจำ  ประมวลผลข้อมูล  เปรียบเทียบ  ตัดสินใจทางตรรกศาสตร์คำนวณทางคณิตศาสตร์  สามารถใช้ช่วยในการออกแบบและสร้างงานกราฟิกได้  อีกทั้งยังตอบสนองความต้องการด้านอื่นๆ  ได้อย่างหลากหลาย    

             คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้อนฐาน 5 หน่วย  ได้แก่   หน่วยรับเข้า  ( input unit )  หน่วยประมวลผลกลาง     ( Central  Processing  Unit :  CPU ) หน่วยความจำ  (  memory  unit  )  หน่วยส่งออก  (  output  unit )  และหน่วยเก็บข้อมูล (  storage  unit  )   แต่ละหน่วยทำหน้าที่ประสานกัน

1

 หน่วยรับเข้า    

ทำหน้าที่รับข้อมูล  หรือคำสั่งต่างๆจากผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งเข้าไปทำการประมวลผลต่อไป

                       

                            

                   

หน่วยประมวลผลกลาง

     หน่วยประมวลผลกลาง  หรือ  ซีพียู  เปรีบยได้กับสมองของคอมพิวเตอร์  ทำหน้าที่ประมวลผลคำสั่งหรือข้อมูลที่รับเข้าไป   ซึ่งจะทำงานร่วมกับหน่วนอื่นๆ


 


หน่วยความจำ

ทำหร้าที่เก็บโปรแกรมที่คอมพิวเตอร์กำลังประมวลผล  และเป็นที่พักข้อมูลระหว่างที่ซีพียูกำลังประมวลผล

หน่วยส่งออก

      ทำหน้าที่แสดงหรือส่งข้อมูลที่่ได้จากการประมวลผลจากวีพียูมาให้ผู้ใช้งานรับทราบ  ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของการมองเห็น  (  ภาพหรือข้อความ )  หรือการส่งเป็ยสัญญาณเสียง


 


หน่วยเก็บข้อมูล

      ทำหน้าที่เก็บข้อมูลแบบถาวรบนคอมพิวเตอร์

ที่มา http://myfriendsforever09.wordpress.com               

A Brief History of Computers


ประวัติคอมพิวเตอร์โดยย่อใน 4 นาที

ประเภทของคอมพิวเตอร์

  

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์  โดยทั่ว ๆ ไป เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแยกชนิดได้ ดังนี้
        1. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นเครื่องขนาดเล็กและราคาย่อมเยากว่าคอมพิวเตอร์ระบบอื่น ๆ โดยแบ่งออกได้เป็น  2  ประเภท คือ คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ และคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่หรือพกพาได้
            1.1  คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Computers) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบให้มีหน่วยระบบ  (System  Unit)  อยู่ในตัวเครื่องเดียวกัน  คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะที่นิยมใช้กันในปัจจุบันจะมีลักษณะตัวเครื่องทรงสูงเรียกว่า เทาเวอร์ โมเดล  (Tower  Model)  ตัวเครื่องลักษณะนี้จะแยกหน่วยประมวลผลกลางและจอมอนิเตอร์ออกจากกัน



            1.2  คอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้วและพกพา (Portable Computers) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถหิ้วหรือถือในฝ่ามือได้  จึงนับว่าเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอย่างแท้จริงเนื่องจากเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ที่เจ้าของจะเป็นผู้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นแต่เพียงผู้เดียว

                                      

 2.  มินิคอมพิวเตอร์ (Mini-Computer) เหมาะสำหรับใช้ในวงการธุรกิจขนาดกลางทั่วไป  เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีระบบการจัดแฟ้มข้อมูล  ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล  ระบบการตรวจสอบวงจร  และระบบโปรแกรมควบคุมที่สมบูรณ์แบบ  สามารถทำงานพร้อมกันได้หลายงานและต่อสาขา  เป็นเครื่องปลายทาง (Terminals) ได้หลายร้อยเครื่อง  จึงเหมาะสำหรับงานที่ต้องการความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลและการทำรายการจำนวนมาก ๆ มีหน่วยความจำขนาด 1 เมกะไบต์ ถึง 160 เมกะไบต์  และมีลักษณะการทำงานรับส่งข้อมูลได้ครั้งละ  32  บิต ถึง 64 บิต

                                      
 3.  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์  (Mainframe  Computer)   เหมาะสำหรับใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่    มีลักษณะเช่นเดียวกับเครื่องขนาดกลาง  แต่สามารถทำงานได้เร็วมากกว่า   และสามารถต่อกับอุปกรณ์ประเภทต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางมาก   มีหน่วยความจำหลายร้อยเมกะไบต์  และเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลหลายร้อยจิกะไบต์







4.  ซูเปอร์เมนเฟรมคอมพิวเตอร์   (Super  Mainframe  Computer)  เป็นคอมพิวเตอร์ราคาแพงที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อทำงานคำนวณที่ซับซ้อน  ด้วยความเร็วสูงสุดเท่าที่เทคโนโลยีระดับสูงจะทำได้   มักใช้ในวงการขนาดใหญ่มาก  เช่น ในกองทัพของสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้ในการคำนวณยิงขีปนาวุธหรือในการปล่อยยานอวกาศ  เป็นต้น  นับเป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานรับส่งข้อมูลได้รวดเร็วและจำนวนมากกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ

ความหมายของคอมพิวเตอร์


          คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคชนิดหนึ่ง ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูล แปรผลข้อมูล โดยทำงานเป็นระบบ เป็นกระบวนการต่างๆ ที่สามารถแสดงผลมายังผู้ใช้ เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น



                            Computer

 ที่มาของรูปภาพ http://eofdreams.com/photo/computer/04/