วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

World Wide Web (WWW)

วิลด์ไวด์เว็บ บริการข้อมูลข่าวสารแบบสื่อผสม ที่เป็นจุดดึงดูดให้ผู้คนส่วนใหญ่ เข้ามา ใช้บริการอินเทอร์เน็ตกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเวิลด์ไวด์เว็บ เป็นเครื่องมือช่วยให้เรา สามารถ ค้นรายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบเกือบทุกเรื่อง สามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งต่าง ๆ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด ใช้งานง่าย สะดวกและรวดเร็ว ทำให้ประหยัดเวลา สามารถเห็นได้ทั้งภาพ และเสียง ทั้งภาพแบบสองและสามมิติ รวมทั้งภาพเคลื่อนไหวอีกด้วย นอกจากนี้ เรายังสามารถ เผยแพร่เอกสารที่เราจัดทำ ไปให้ผู้คนทั่วโลกใช้ผ่านทาง เวิลด์ไวด์เว็บ โดยมีค่าใช้จ่าย ถูกกว่า การตีพิมพ์บนกระดาษ หรือบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เวิลด์ไวด์เว็บ จึงเป็นต้นเหตุสำคัญ ทำให้ สถิติการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้คนทั่วโลก เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วรวดเร็ว

1. เวิลด์ไวด์เว็บ คืออะไร
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW หรือ W3 หรือ Web) คือ บริการค้น
หรือเรียกดู ข้อมูลแบบหนึ่ง ในอินเทอร์เน็ต ข้อมูลในเวิลด์ไวด์เว็บ จะอยู่ในแบบสื่อผสม หรือ
มัลติมีเดีย (multimedia) ที่มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวแบบวิดีโอ
ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ แต่ละหน้าสามารถ เชื่อมโยงถึงกันได้
เป็นแบบเครือข่ายคล้ายใยแมงมุม จากแหล่งต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วโลก

2. จุดเริ่มต้นของเวิลด์ไวด์เว็บ
ปี ค.ศ. 1990 ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) แห่งสถาบัน CERN (Center
European pour la Recherche Nucleaire) แห่งกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
(เวบไซต์ของ CERN ติดต่อที่ http://www.cern.ch)
ได้คิดค้นวิธีการถ่ายทอดเอกสารข้อมูลที่อยู่ในแบบไฮเปอร์เท็กซ์ ( hypertext)
ซึ่งเป็นเอกสารที่นำเสนอทางเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ข้อมูลในแต่ละหน้า
สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ มานำเสนอผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เอกสารแบบไฮเปอร์เท็กซ์นี้ เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นใหม่ เรียกว่า
ภาษา HTML (Hypertext Markup Language)
เอกสารข้อมูลที่เขียนขึ้นด้วยภาษา HTML นี้ ต้องใช้โปรโตคอลแบบพิเศษ ชื่อ HTTP
(Hypertext Transport Protocol) ช่วยในการสื่อสาร และรับส่งข้อมูล
ขณะเรียกใช้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ ในระบบอินเทอร์เน็ต
ในปี ค.ศ. 1993 สถาบัน NCSA (National Center for Supercomputing Application)
แห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ได้พัฒนาโปรแกรมที่เรียกว่า เว็บบราวเซอร์ (web browser) ชื่อ
Mosaic ขึ้นมา ทำหน้าที่แปลคำสั่งและข้อมูลที่อยู่ในรูปของเอกสาร HTML
ให้แสดงที่หน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ได้อย่างสวยงาม น่าดู
อย่างที่เราพบเห็นบนในปัจจุบัน โปรแกรม Mosaic ถูกแจกจ่าย
ออกไปให้ผู้ใช้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จืงได้กลายมาเป็น โปรแกรมยอดนิยมไปทันที
หลังจากนั้นมา บริษัทซอฟแวร์ชั้นนำต่าง ๆ จึงเริ่มพัฒนาโปรแกรมเว็บบราวเซอร์อื่น ๆ
ออกจำหน่ายจ่ายแจก แก่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก
ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกหาโปรแกรม เว็บบราวเซอร์ มาใช้งานได้หลายโปรแกรม
นอกจากจะใช้บริการดูข้อมูลจากเวิลด์ไวด์เว็บ แล้ว หลายโปรแกรมยังมีความสามารถอื่น ๆ
ด้วย เช่น บริการสื่อสารด้วย E-mail การค้นข้อมูลแบบ Gopher การถ่ายโอนไฟล์ด้วย ftp
เป็นต้น โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ได้เปลี่ยนโฉมหน้า การใช้ บริการอินเทอร์เน็ตในแบบเก่า ๆ
ที่มีแต่ตัวอักษร ไปเป็นหน้าจอที่มีชีวิตชีวาด้วยสีสันและรูปภาพ
และทำให้ผู้สามารถเข้าสู่บริการอินเทอร์เน็ตได้ง่ายกว่าเดิมมาก

3. เรื่องราวเกี่ยวกับเวิลด์ไวด์เว็บ
3.1 เว็บเพจและโฮมเพจ
เอกสารข้อมูลเวิลด์ไวด์เว็บ เรื่องหนึ่ง ๆ ใน เว็บไซต์ จะถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ
คล้ายหนังสือ เล่มหนึ่ง แต่ละหน้า เรียกว่า เว็บเพจ (web page) ข้อมูลในเวบเพจ
เป็นเอกสารแบบ ไฮเปอร์เท็กซ์ เขียนขึ้นด้วยภาษา HTML แบ่งเป็นสองส่วน คือ
ส่วนที่เป็นตัวข้อมูล และส่วนที่เป็น ตัวเชื่อม (link)
ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงไปยังข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง เราเรียกข้อมูลที่มีตัวเชื่อมนี้ว่าเป็น
ไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext)
เว็บเพจหน้าแรกของเอกสารบนเวิลด์ไวด์เว็บ เรียกว่า โฮมเพจ (home page)
ซึ่งเปรียบ เสมือนหน้าแรก หรือหน้าปกของหนังสือ
เป็นส่วนที่ใช้บอกชื่อเรื่องของเอกสารข้อมูล ส่วนสำคัญ ในหน้าที่เป็นโฮมเพจ คือ
หัวข้อเรื่องของเอกสารข้อมูล หรือสารบัญ ที่มีลักษณะเป็นแบบ ไฮเปอร์เท็กซ์
ที่จะเชื่อมโยงไปยัง รายละเอียดที่อยู่ในหน้าอื่น ๆ ต่อไป นอกจากนี้ ก็จะมี
ชื่อเจ้าของโฮมเพจ พร้อมทั้งที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ และอาจจะมีคำชี้แจงเบื้องต้นด้วย
3.2 เว็บเซิร์ฟเวอร์และ เว็บไซต์
เว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) หมายถึง
เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ให้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ
ซึ่งอาจจะใช้ระบบปฏิบัติการ Unix หรือ Windows NT ก็ได้ และมีโปรแกรมประเภท HTTPD
ทำหน้าที่คอยบริการจัดส่งเอกสารข้อมูล ให้กับผู้ที่ติดต่อขอผ่านมาทางเว็บบราวเซอร์
ในกรณีที่ส่งไปให้ไม่ได้ เช่นมีการขัดข้องทางเทคนิค
เว็บเซิร์ฟเวอร์จะส่งรายละเอียดการขัดข้อง (error message) ให้แทน
โปรแกรม HTTPD ในปัจจุบันมีให้เลือกใช้มากมาย ทั้งที่เป็นฟรีแวร์, แชร์แวร์,
และ โปรแกรมเพื่อการค้า เช่น
- โปรแกรม Purveyor HTTP Server ของสถาบัน European Microsoft
Windows NT Academic Centre (EMWAC)
- โปรแกรม Website ของบริษัท O'Reilly and Associate
- โปรแกรม Apache
เว็บไซต์ (web site) หมายถึงตำแหน่งที่เก็บข้อมูลที่เป็น เว็บเพจต่าง ๆ
ที่เจ้าของระบบ ได้จัดเตรียมไว้บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ แต่ละเว็บไซต์บนเว็บเซิร์ฟเวอร์
มีวิธีการระบุที่อยู่ (address) ของตัวเองไม่ให้ซ้ำกับผู้อื่น วิธีการระบุที่อยู่ของเว็บไซต์
นี้เรียกว่า รหัสสืบค้น (Uniform Resource Locator หรือ URL) ส่วนแรกของ URL
เป็นโปรโตคอล http ที่จะบอกลักษณะ ของข้อมูล ว่าเป็นแบบเวิลด์ไวด์เว็บ
คั่นด้วยเคื่องหมาย :// และส่วนที่สอง ใช้บอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลนั้น ๆ
ซึ่งประกอบด้วยชื่อของเว็บเซิร์ฟเวอร์ และชื่อไฟล์ที่เป็นเว็บเพจ โดยต้องระบุเส้นทางหรือ
ไดเร็กทอรีให้ถูกต้อง เช่น
http://www.sci.buu.ac.th/~wichai/valentine.html
แต่ถ้าไม่ระบุชื่อไฟล์ ก็จะเป็นการเข้าไปยังโฮมเพจของ เว็บไซต์นั้น เช่น
http://www.sci.buu.ac.th/~king72
ตัวอย่าง Web sites น่าสนใจ
http://kanchanapisek.or.th/
http://www.nectec.or.th/
http://www.disney.com/
http://www.microsoft.com/
http://lcweb.loc.gov/
http://www.whitehouse.gov/
http://www.100.hot.com/
http://www.angelfire.com/wi/catholicthai/
http://www.buu.ac.th
3.3 ไฮเปอร์เท็กซ์ ไฮเปอร์ลิงก์ และ ไฮเปอร์มีเดีย
ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) คือ คำหรือวลีเรืองแสง
หรือมีสีแตกต่างจากข้อความธรรมดา หรือ มีการขีดเส้นใต้ในเอกสารเว็บ
เมื่อเรียกดูผ่านทางเว็บบราวเซอร์ ถ้าใช้เมาส์ชี้ที่ ไฮเปอร์เท็กซ์จะเห็นเป็นรูปมือ
และเมื่อคลิกเมาส์ที่ไฮเปอร์เท็กซ์ โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ จะเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่น
ซึ่งอาจจะเป็นจุดอื่นในไฟล์เดียวกัน หรืออาจจะเชื่อมโยงไปยัง ไฟล์เอกสารอื่น หรือ
เว็บไซต์อื่น การเชื่อมโยงดังกล่าว เรียกว่า ไฮเปอร์ลิงก์ (hyperlink)
ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของเอกสารเว็บ เมื่อเรียกดูผ่านทางเว็บบราวเซอร์
ไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) หมายถึง ส่วนที่เพิ่มเติมจากไฮเปอร์เท็กซ์ นั่นคือ
นอกเหนือ จากการเชื่อมโยงข้อมูลในแบบตัวอักษรแล้ว เรายังสามารถเชื่อมโยงไปยัง
ข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ภาพถ่าย วิดีโอ เสียง ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหว ได้ด้วย
3.4 เวิลด์ไวด์เว็บอยู่ที่ไหน ใครเป็นเจ้าของ
เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นบริการสืบค้นข่าวสารข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
ไม่มีใครเป็นเจ้าของโดยเด็ดขาด แต่มีองค์กรที่ชื่อว่า W3 Consortium ตั้งอยู่ที่
Massachusett Institute of Technology (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับ CERN
เป็นผู้บริหาร จัดการ และกำหนดรายละเอียด ทางด้านภาษา
และมาตรฐานหรือโปรโตคอลที่ใช้บนเวิลด์ไวด์เว็บ โดยมี ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี ผู้ก่อตั้งคนหนึ่ง
เป็นผู้ร่วมบริหารอยู่ด้วย
ติดต่อโฮมเพจของ W3 Consortium ได้ที่ http://www.w3.org

4. โปรแกรมเว็บบราวเซอร์
เว็บบราวเซอร์ (web browser) คือโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
ที่ทำหน้าที่ติดต่อกับ เว็บเซอร์เวอร์ เพื่อขอดูเอกสารข้อมูลเวิลด์ไวด์เว็บ
เมื่อได้รับแฟ้มเอกสารที่ขอไป ก็นำมาแสดงบนจอภาพ เราเรียกรายละเอียดของเอกสารข้อมูล
ที่เว็บบราวเซอร์นำมาแสดงบนจอว่า เอกสารเว็บ (web document)
ในปัจจุบัน มีบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ต่าง ๆ หลายราย
ได้พัฒนาโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ออกมาให้ใช้งานกันมากมาย และเพิ่มขึ้นทุกขณะ เช่น
NCSA Mosaic, Cello, Netscape Navigator, Internet Explorer, HotJava, และ Win Web
เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ใช้สามารถโอนถ่าย โปรแกรมเว็บบราวเซอร์
นำมาทดลองใช้ได้ฟรี ตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัท แต่ก็มีอีกหลายแห่ง ที่แจกให้ใช้ฟรีจริงๆ
เว็บบราวเซอร์ที่กล่าวถึงข้างต้น ล้วนมีความสามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นรูปภาพ
และมีสีสันสวยงามได้ แต่สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลที่เป็นตัวหนังสืออย่างเดียว
ซึ่งจะเรียกดูข้อมูลได้ รวดเร็ว ก็อาจจะเลือกใช้โปรแกรม Lynx
ซึ่งเคยเป็นเว็บบราวเซอร์แบบตัวอักษร ที่มีผู้นิยมมาก ในระยะหนึ่ง
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ของแต่ละบริษัท มีความแตกต่างกันในความสามารถ
และรายละเอียด ปลีกย่อย เช่น ความเร็วในการทำงาน การสิ้นเปลืองหน่วยความจำของเครื่อง
การรักษาความปลอดภัย ของข้อมูล การรองรับภาษา HTML ในระดับที่ไม่เท่ากัน เป็นต้น
เว็บบราวเซอร์ที่นิยมใช้ กันมากที่สุดในปัจจุบัน 3 โปรแกรม ได้แก่
4.1 NCSA Mosaic เป็นโปรแกรมเว็บบราวเซอร์อันดับแรกของโลก
ที่สามารถเรียกดูข้อมูล ที่เป็นรูปภาพ และมีสีสันสวยงาม พัฒนาโดย Natconal Center for
Supercomputing Application (NCSA) มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ในปี ค.ศ. 1993 โปรแกรม
Mosaic เมื่อพัฒนาเสร็จ ก็ถูกแจกจ่าย ให้ผู้ใช้อย่างรวดเร็ว
โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจึงกลายเป็นโปรแกรมยอดนิยมทันที
4.2 Netscape Navigator
เป็นโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน พัฒนาโดยบริษัท Netscape
Communication สามารถอ่านข้อมูลที่สร้างด้วยโปรแกรม HTML, JavaScript, และ JAVA
ได้ สามารถอ่านข้อมูลที่เป็นภาพสองมิติ สามมิติ ภาพเคลื่อนไหว ข้อมูลเสียง และ วิดีโอได้
4.3 Microsoft Internet Explorer เป็นเว็บบราวเซอร์ ที่กำลังได้รับความนิยม เพื่มขึ้น
อย่างรวดเร็ว ผลิตโดย บริษัท Microsoft มีประสิทธิภาพสูงคล้ายกับโปรแกรม Netscape
Navigator เป็นโปรแกรมที่จัดให้มาพร้อมกับโปรแกรม Windows 95

5. โปรแกรม Netscape Navigator
Netscape Navigator เป็นโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง
โดยพัฒนา ติดต่อกันมาหลายรุ่นด้วยกัน รุ่นที่เป็นที่นิยมใช้เห็นจะได้แก่ Netscape Navigator
3.x, Netscape Navigator Gold 3.x, และรุ่นล่าสุด Netscape Communicator (รุ่น 4.x)
Netscape Communicator เป็นโปรแกรมชุด ประกอบด้วยหลายๆ โปรแกรม
ที่ช่วยให้ใช้บริการในอินเทอร์เน็ตได้ครบถ้วนสมบูรณ์ จำนวนโปรแกรมแตกต่างกันตามรุ่น
Netscape Communicator รุ่น Standard ประกอบด้วยโปรแกรมหลัก 6 โปรแกรม
ทุกโปรแกรมสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้หมด เราจะเลือกเข้าใช้โปรแกรมใดก่อนก็ได้
- Netscape Navigator โปรแกรมเว็บบราวเซอร์
- Netscape Messenger โปรแกรมจัดการอีเมล์
- Netscape Collabra โปรแกรมจัดการกลุ่มข่าว
- Netscape Conference โปรแกรมประชุมผ่านอินเทอร์เน็ต
- Netscape Composer โปรแกรมสร้างเว็บเพจ
- Netscape Netcaster โปรแกรมดึงขอมูลอัตโนมัติ

6. การใช้ Netscape Communicator
5.1 การเรียกใช้ Netscape Communicator
1. คลิกปุ่ม Start
2. เลือก Programs
3. เลือก Netscape Communicator
4. เลือกโปรแกมที่ต้องการ
5.2 ส่วนประกอบของหน้าต่าง Netscape
เมื่อเลือกใช้โปรแกรม Netscape Navigator โดยทั่วไปจะเป็น Home page
ของ Netscape ที่มีคำชี้แจง และ Links ต่าง ๆ ให้เลือกใช้หลายอย่าง
ส่วนบนของหน้าต่างประกอบด้วย Title bar , Menu bar , และ Tool Bar
ส่วนล่างเป็น Status bar
5.2.1 Menu Bar เป็นที่รวมคำสั่งทั้งหมดที่มีให้เลือกใช้ในโปรแกรม
เมนูทั้งหมด ประกอบด้วยคำสั่ง File, Edit, View, Go, Communicator, และ Help
ในแต่ละเมนู มีคำสั่งย่อย ให้เลือกใช้ตามความต้องการ
5.2.2 Tool Bar เป็นส่วนที่แสดงปุ่มคำสั่งที่ใช้บ่อย ๆ
โดยใช้เมาส์แทนการเรียกจากเมนู Tool bar มี 3 แถบ คือ
Navigation Toolbar เป็นส่วนช่วยจัดการกับเว็บเพจ ประกอบด้วย
Back, Forward, Reload, Home, Search, Stop
Location Toolbar เป็นส่วนที่แสดงตำแหน่งที่อยู่ของเว็บเพจขณะนั้น
ประกอบด้วย Bookmarks และ Location
Personal Toolbar เป็นส่วนช่วยในการแสดงเว็บเพจ ประกอบด้วย
Instant Message, Internet, Lookup, และ New&Cool
5.2.3 Status Bar เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงภาวะการติดต่อ
และการส่งผ่านข้อมูลในระบบ ประกอบด้วย ส่วนแสดงระบบความปลอดภัย
ส่วนแสดงภาวะการติดต่อ และโปรแกรมร่วมของ Netscape
5.3 การไปยังเว็บที่ต้องการ
การไปยังเว็บที่ต้องการ ทำได้หลายวิธี
- คลิกที่ช่อง Location พิมพ์ URL address
ของเว็บไซต์ที่ต้องการติดต่อ แล้วกด Enter
- Netscape จะจัดเก็บ address ที่เคยติดต่อหลังสุด 15 แห่งไว้
เราสามารถเรียกมาใช้ใหม่ได้ จากการคลิกปุ่มสามเหลี่ยมทางขวา ของช่อง Location
- จากเมนู File เลือกคำสั่ง Open Page พิมพ์ URL address
ของเว็บไซต์ที่ต้องการติดต่อ แล้วกด Enter หรือ คลิกปุ่ม Open
5.4 Bookmarks
เมื่อพบเว็บเพจที่ถูกใจ เราจะให้ Netscape ช่วยจดจำตำแหน่งของเว็บ
ในขณะนั้น คล้าย ที่คั่นหน้าหนังสือ เพื่อให้เราสามารถกลับมาดูได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
รวมทั้งการจัดระเบียบใหม่ หรือแก้ไขด้วย
5.4.1 การคั่นหน้าเว็บเพจที่ถูกใจ ทำได้ดังนี้
1. จากเมนู Communicator เลือกคำสั่ง Bookmarks เลือกคำสั่ง Add
Bookmark
หรือ 2. คลิกที่ปุ่ม Bookmarks บน Location Toolbar แล้วเลือกคำสั่ง Add
Bookmark
หรือ 3. คลิกขวาที่พื้นฉากหลังของเว็บเพจนั้น แล้วเลือกคำสั่ง Add Bookmark
5.4.2 การดูเว็บเพจที่คั่นหน้าไว้ ทำได้ดังนี้
1. จากเมนู Communicator เลือกคำสั่ง Bookmarks
แล้วเลือกเว็บเพจที่ต้องการดู
หรือ 2. คลิกที่ปุ่ม Bookmarks บน Location Toolbar
แล้วเลือกเว็บเพจที่คั่นหน้าไว้
หรือ 3. เลือกเว็บไซต์ที่ Netscape เลือกไว้ให้เป็นกลุ่ม
5.5 การเก็บสิ่งที่ต้องการลงดิสค์
เราสามารถเก็บส่วนต่าง ๆ ในเว็บเพจ ที่เราถูกใจไว้ โดยบันทึกลงในดิสก์
ที่เครื่อง ของเราได้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของเนื้อความ รูปภาพ หรือเสียง
หรือเราอาจจะเก็บทั้งเว็บเพจเลยก็ได้
5.5.1 การเก็บเนื้อความ
หากต้องการเก็บเฉพาะส่วนของเนื้อความ ให้กระทำดังนี้
1. จากเมนู File เลือกคำสั่ง Save As
2. เลือกไดร์ฟและโฟลเดอร์ที่จะจัดเก็บ
3. กำหนดชื่อไฟล์
4. เลือกปุ่ม Save
ไฟล์ที่ได้จะมีชนิดเป็น .html
5.5.2 การเรียกเนื้อความที่บันทึกไว้มาอ่าน
1. จากเมนู File เลือกคำสั่ง Open Page
2. เลือกปุ่ม Choose File
3. เลือกชื่อไฟล์ที่บันทึกไว้
4. เลือกปุ่ม Open
5. เลือกปุ่ม Open อีกครั้ง
ไฟล์ ที่เรียกดู จะมีเฉพาะส่วนของเนื้อความเท่านั้น ส่วนที่เป็นรูปภาพ
จะแสดงด้วย สัญลักษณ์แทน
5.5.3 การเก็บรูปภาพ
ส่วนของรูปภาพที่อยู่ในเว็บเพจ จะเป็นไฟล์รูปภาพชนิดต่าง ๆ
ที่ผนวกอยู่กับ เว็บเพจนั้น ซึ่งเราสามารถเลือกบันทึกเก็บไว้ได้
1. คลิกขวาที่รูปภาพที่ต้องการ
2. เลือกคำสั่ง Save Image As
5.5.4 การเก็บพื้นฉากหลัง
1. คลิกขวาที่พื้นฉากหลังที่มีรูปที่ต้องการ
2. เลือกคำสั่ง Save Background As
5.5.5 การเก็บทั้งเว็บเพจ
เราสามารถจัดเก็บเว็บเพจทั้งหน้า ทั้งส่วนของเนื้อความและรูปภาพ
รวมทั้ง พื้นฉากหลัง ไว้พร้อม ๆ กันได้
1. ไปยังเว็บเพจที่จะจัดเก็บ
2. จากเมนู File เลือกคำสั่ง Edit Page จะเข้าสู่ Netscape
Composer
3. จากเมนู File เลือกคำสั่ง Save As
4. เลือกไดร์ฟและโฟลเดอร์ที่จะจัดเก็บไฟล์ และตั้งชื่อไฟล์ตามต้องการ
5. เลือกปุ่ม Save
Netscape จะเริ่มทำการจัดเก็บไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในเว็บเพจนั้น
เมื่อต้องการกลับไปยังบราวเซอร์ ให้คลิกที่ปุ่ม Preview
บนแถบเครื่องมือ

7. การค้นเรื่องที่เราต้องการบน WWW
เนื่องจากมีข้อมูลและรายละเอียดมากมายมหาศาล ในทุกหัวข้อเรื่องบน WWW
จึงมีผู้จัดสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาทำหน้าที่ค้นข้อมูล เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
ให้ค้นพบข้อมูลและรายละเอียดที่ต้องการได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว
เว็บไซต์ที่ทำหน้าที่ค้นข้อมูลมี 2 ประเภท คือ แบบ search engine และแบบ directory
assistance
7.1 Search Engine
Search engine เป็นเว็บเพจที่อยู่ในรูปแบบฟอร์มให้เรากรอกคำ วลี
หรือประโยค ที่เราต้องการค้น แล้วจึงกดปุ่ม Search จากนั้น search engine ก็จะทำงาน
และนำผลการค้นพบ หรือไม่พบ ส่งกลับมาให้เราทราบ สำหรับการทำงานของเว็บไซต์
ซึ่งทำหน้าที่เป็น search engine คือ จะมีโปรแกรมที่เรียกว่า crawlers หรือ robots หรือ
spider ทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อ URL ของ เว็บเพจ และของบริการประเภทอื่นบน
อินเทอร์เน็ต เช่น Gopher site, News groups ฯลฯ มาเก็บไว้ ในฐานข้อมูลของตน
เมื่อโปรแกรมดังกล่าวพบเว็บเพจใหม่ ที่ยังไม่มีในฐานข้อมูล ก็จะเพิ่มข้อมูล ใหม่
เข้าไปอัตโนมัติ ทำให้มีข้อมูลมากขึ้นเรื่อย ๆ
Search engine เป็นโปรแกรมทำหน้าที่ค้นรายละเอียดบนเวิลด์ไวด์เว็บ
และอินเทอร์เน็ต ได้รวดเร็ว ในทางปฏิบัติ เราควรใช้ search engine หลายโปรแกรมร่วมกัน
เนื่องจากแต่ละโปรแกรม มีวิธีสืบค้นข้อมูลต่างกัน การใช้ search engine
มีประโยชน์ในกรณีที่เราต้องการค้นเฉพาะเจาะจง
Search Engine ที่นิยมใช้แพร่หลาย ได้แก่
Alta Vista http://www.altavista.digital.com/
Exite http://www.excite.com/
HotBot http://www.hotbot.com/
Infoseek http://guide.infoseek.com/
Lycos http://www.lycos.com/
Open Text http://www.opentext.com/
Web Crawler http://www.webcrawler.com/
7.2 Directory assistance
Directory assistance หรือ subject tree
เป็นโปรแกรมจัดระเบียบข้อมูลบนเวิลด์ไวด์เว็บ ในรูปหัวเรื่องใหญ่ เช่น Arts and
Humanities, Business, Economy, Government ฯลฯ แต่ละกลุ่มจะมีหัวเรื่องรอง
เชื่อมโยงไปยังรายละเอียดที่เป็นกลุ่มย่อยเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ต่อไป
คล้ายกับการแตกกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ โปรแกรมที่นิยมใช้ คือ
Yahoo (http://www.yahoo.com)
CERN's Virtual Library (http://www.w3.org/vi/)
Einet Galaxy (http://www.einet.net)
Starting Point (http://www.stpt.com)
Yahoo (Yet Another Hierarchically Odiferous Oracle) พัฒนาโดย David
Filo และ Jerry Chih-Yuan Yang ที่ Standford University
ผู้ใช้เวิลด์ไวด์เว็บสามารถส่งรายละเอียดเกี่ยวกับ เว็บเพจของตนไปให้ Yahoo
ซึ่งมีเครื่องอัตโนมัติคอยติดตามหารายละเอียดใหม่ มาเพิ่มตลอดเวลา ทำให้ Yahoo
มีฐานข้อมูลใหญ่ ให้รายละอียดเกี่ยวกับบริการอินเทอร์เน็ต (WWW, Gopher, FTP sites and
Usenet Newsgroup) มากกว่า 80,000 แห่ง จัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ใน 14 หัวข้อ เช่น Arts,
Computers, Health, Recreation ฯลฯ

8. บริการอื่น ๆ ใน Netscape
โปรแกรม Netscape นอกจากให้บริการค้นหาข้อมูลแบบเวิลด์ไวด์เว็บแล้ว
ยังสามารถใช้ ในการติดต่อกับเซอร์เวอร์ที่ให้บริการแบบอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น Gopher, FTP,
Telnet, E-mail, และ Usenet เป็นต้น
ในการเลือกใช้บริการอื่น ๆ ให้พิมพ์รหัส URL ในช่อง Location
ตามประเภทบริการนั้น ๆ เช่นเดียวกับการใช้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ เช่น
gopher://gopher.msu.edu
ตัวอย่าง Gopher Sites ที่น่าสนใจ
gopher://gopher.ebone.net
gopher://gopher.sunet.se
gopher://info.anu.edu.au
gopher://tolten.puc.cl
gopher://gan.ncc.go.japan
gopher://chronicle.merit.edu/
ตัวอย่าง Anonymous FTP Servers ที่น่าสนใจ
ftp://ftp.nectec.or.th
ftp://ftp.funet.fi
ftp://ftp.cs.ruu.nl
ftp://schoolnet.carleston.ca
ftp://bonsai.pass.wayne.edu
ftp://nic.switch.ch
ตัวอย่าง Newsgroups ที่น่าสนใจ
news://comp.graphics.animation
news://misc.education.language.english
news://news.groups.questions
news://rec.arts.cinema
news://sci.med.aids
news://soc.singles
news://talk.environment

9. เพิ่มพลังให้ Netscape
เพื่อให้เราสามารถดูข้อมูลที่เป็นมัลติมีเดียในเว็บเพจ ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
ทั้งภาพ และเสียง Netscape จำเป็นต้องมีไฟล์ควบคุมการแสดงผลให้ครบถ้วน
ตามรูปแบบของไฟล์ภาพ และเสียงที่ถูกสร้างไว้ ในส่วนที่เป็นไฟล์ควบคุมที่เราต้องติดตั้ง
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของ Netscape นั้น มี 2 แบบ คือ Plug-in และ Helper
9.1 Plug-in
Plug-in เป็นไฟล์ควบคุมการแสดงผล ซึ่งเป็นภาพหรือเสียง
หรือทั้งภาพและเสียง ที่ฝังตัวเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม Netscape
ที่จะต้องติดตั้งเพิ่มไว้ก่อน และเมื่อเราเรียกใช้ โปรแกรม Netscape
ไฟล์เหล่านี้จะถูกเรียกใช้ได้โดยอัตโนมัติ และพร้อมใช้งานได้ทันที
Plug-in ที่น่าสนใจ และควรติดตั้งไว้ในระบบของเรามีอยู่มากมาย เราอาจจะ
ดาวน์โหลดและติดตั้งไว้ใช้ เช่น
-Shockwave เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสร้างไฟล์ภาพเคลื่อนไหว
ที่มีเสียงประกอบ ในลักษณะของภาพยนตร์ และจะต้องมีไฟล์ควบคุมของ Shockwave
ในการแสดงผล Shockwave สามารถแสดงผลได้รวดเร็ว ปัจจุบัน
นิยมใช้กันมากในเว็บไซต์ของค่ายหนังต่าง ๆ Shockwave ผลิตโดยบริษัท Micromedia
ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ http://www.micromedia.com
- QuickTime เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสร้างไฟล์ภาพเคลื่อนไหว
ที่มีเสียงประกอบ ในลักษณะของภาพยนตร์ และต้องมีไฟล์ควบคุมของ QuickTime
ในการแสดงผลภาพ โดยต้องอ่าน ข้อมูลจนจบไฟล์ จึงจะเริ่มแสดงผล Netscape มีโปรแกรม
QuickTime ติดตั้งเป็น plug-in มาให้แล้ว
- RealPlayer
เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้การดูภาพและฟังเสียงได้อย่างรวดเร็ว โดยมี RealVideo
ช่วยแสดงทั้งภาพและเสียง และ RealAudio ที่แสดงเฉพาะเสียง ดาวน์โหลดได้ที่ เว็บไซต์
http://www.real.com หรือจาก link ของเว็บไซต์ทีวีช่อง 5 ที่ http://www.tv5.co.th
9.2 Helper Applications
Helper หมายถึงโปรแกรมที่ช่วยให้เว็บบราวเซอร์เปิดไฟล์มัลติมีเดีย ที่
เว็บบราวเซอร์ ไม่รู้จักและไม่สามารถแสดงผลได้ ให้เปิดได้อัตโนมัติ Helper
เป็นโปรแกรมที่อยู่ภายนอก และแยกอยู่ต่างหากจากเว็บบราวเซอร์ ในคอมพิวเตอร์ของเรา
ซึ่งต่างจากโปรแกรม plug-in
จะขอดูโปรแกรม helper ที่ติดตั้งไว้ในโปรแกรม Netscape ได้ดังนี้
1. เข้าสู่ส่วน Navigator
2. จากเมนู Edit เลือกคำสั่ง Preferences
3. ในกลุ่ม Navigator เลือก Applications

10. การใช้ E-mail ใน Netscape
โปรแกรม Netscape ใช้รับ-ส่ง E-mail ได้ โดยมีฟังก์ชันการทำงานอยู่ในโปรแกรม
Netscape Messenger แต่ก่อนใช้งาน ต้องกำหนดค่าต่างๆ ก่อน
10.1 การกำหนดชื่อ Server และ User Name
1. จากเมนู Edit เลือกคำสั่ง Preferences
2. เลือกคำสั่ง Mail & Groups
3. เลือกหัวข้อ Mail Server
- ในช่อง Mail server user name เติม user name
- ในช่อง Outgoing mail (SMTP) server
เติมชื่อเครื่องบริการส่งจดหมาย
- ในช่อง Incoming mail server
เติมชื่อเครื่องบริการรับส่งจดหมาย
- ที่หัวข้อ Mail server type ให้เลือก POP3 และเลือก Leave
messages on server
4. ในหัวข้อ Identity ใช้เพื่อกำหนดข้อมูลเกี่ยวกับตัวเรา
- ในช่อง Your name เติมชื่อผู้ใช้ (ชื่อจริงหรือชื่อเล่นก็ได้)
- ในช่อง Email address เติม Email address ของเรา
- ในช่อง Reply-to address ไม่ต้องเติม
5. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK
10.2 การเรียกใช้ Netscape Messenger
1. ในโปรแกรม Netscape จากเมนู Communicator เลือกคำสั่ง
Messenger Mailbox
หรือ 2. ในโปรแกรม Netscape คลิกที่ ไอคอน Mailbox บน Status bar
ด้านล่างขวาของจอ
10.3 ส่วนประกอบของหน้าต่าง Messenger Mailbox
1. Menu bar เป็นส่วนที่แสดงคำสั่งต่างๆ เหมือนใน Netscape
Communicator
2. Tool bar เป็นส่วนที่แสดงปุ่มคำสั่งที่ใช้บ่อยๆ เหมือนใน Netscape
Communicator
3. ตู้จดหมาย ที่ประกอบด้วย Inbox, Unsent Messages, Drafts,
Sent, Trash, และ Samples เมื่อคลิกที่ตู้จดหมายใด
จะแสดงรายชื่อจดหมายที่มีอยู่ด้านล่างลงมา และ เมื่อคลิกที่ จดหมายฉบับใด
จะแสดงข้อความในจดหมายนั้นด้านล่างลงมา
4. Staus bar
เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงสถานะการรับ-ส่งจดหมายขณะนั้น
10.4 การอ่านจดหมาย
1. เลือกตู้จดหมายที่ต้องการ (ปกติจะเป็น Inbox คือจดมายที่ได้รับ)
จะมีรายชื่อจดหมายที่มีอยู่ด้านล่างลงมา
2. คลิกที่จดหมายฉบับที่ต้องการอ่าน
จะเห็นข้อความในจดหมายนั้นด้านล่างลงมา
10.5 การส่งจดหมาย
1. เลือกคำสั่ง New จากเมนู File แล้วเลือก Message หรือ คลิกที่ ไอคอน
New Msg บน Tool bar จะได้หน้าต่าง Composition ใช้ส่งจดหมาย
2. คลิกที่ปุ่ม To เพื่อเลือกลักษณะการส่ง
To: ส่งถึงผู้รับคนเดียว
Cc: สำเนาถึงผู้รับหลายคน
Bcc: สำเนาส่งไม่ระบุผู้รับ
Group: ส่งไปยังกลุ่มข่าว
Reply To: ตอบจดหมายกลับ
Followup To: ส่งต่อไปยังผู้อื่น
3. ป้อนชื่อเรื่องจดหมายในช่อง Subject:
4. พิมพ์ข้อความของจดหมายที่จะส่งในกรอบด้านล่าง
5. คลิกปุ่ม Send บน Tool bar จดหมายก็จะถึงผู้รับตามต้องการ
โปรแกรมจะนำจดหมายนี้ไปเก็บไว้ในตู้จดมาย Sent
10.6 การตอบจดหมาย
การตอบจดหมาย ทำได้ง่ายๆ ดังนี้
1. คลิกที่จดหมายที่จะตอบจากหน้าต่าง Messenger Mailbox
2. คลิกที่ปุ่ม Reply บน Tool bar จะปรากฎหน้าต่าง Composition
เช่นเดียวกับการส่ง จดหมาย
3. ให้เลือกว่าจะตอบกลับไปยังผู้ใดโดยคลิกที่ Reply to Sender
4. ไม่ต้องป้อน address ของผู้รับ และ Subject
5. พิมพ์จดหมายที่ต้องการตอบ
6. คลิกปุ่ม Send บน Tool bar
10.7 การส่งจดหมายต่อไปยังผู้อื่น
จดหมายบางฉบับ เจ้าของอาจจะต้งการให้เราส่งต่อไปยังคนอื่น ทำได้ดังนี้
1. คลิกที่จดหมายที่จะส่งต่อ
2. คลิกที่ปุ่ม Foward บน Tool bar จะปรากฎหน้าต่าง Composition
เช่นเดียวกับการส่ง จดหมาย
3. ป้อน address ของผู้ที่จะส่งต่อ
4. คลิกปุ่ม Send บน Tool bar
10.8 การแนบไฟล์ไปกับจดหมาย
นอกจากการส่งจดหมายแล้ว เราย้งสามารถแนบไฟล์ไปกับจดหมายได้ด้วย
อาจจะเป็น ไฟล์เอกสาร รูปภาพ หรือเว็บเพจ
1. เมื่อพิมพ์เขียนจดหมายเสร็จเรียบร้อยตามปกติแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม Attachment
บน Tool bar หรือจะเลือกคำสั่ง Attach จากเมนู File ก็ได้
2. ถ้าจะแนบไฟล์ ให้เลือก File แล้วเลือกชื่อไฟล์ที่ต้องการ แล้วคลิก Open
3. ถ้าจะแนบไฟล์เว็บเพจ ให้เลือกเว็บเพจ
แล้วพิมพ์ตำแหน่งเว็บเพจที่ต้องการส่ง แล้วคลิก OK
4. คลิกปุ่ม Send บน Tool bar
10.9 การลบจดหมายทิ้ง
1. เลือกตู้จดหมายที่ต้องการ (จาก Inbox หรือ Sent)
จะมีรายชื่อจดหมายที่มีอยู่ด้านล่างลงมา
2. คลิกที่จดหมายฉบับที่ต้องการลบทิ้ง
3. จากเมนู File เลือกคำสั่ง Delete Message หรือ คลิกที่ไอคอน Delete บน
Tool bar
4. กดปุ่ม Delete บนแป้นพิมพ์
โปรแกรมจะนำจดหมายนั้นลงถังขยะ Trash ซึ่งยังนำกลับมาใช้ได้
ถ้าจะลบจริงๆ ให้ทำขั้นตอน 1-4 อีกครั้ง โดยเลือก Trash แทน Inbox
10.10 Address Book
เพื่อความสะดวก เราอาจจะมีสมุดจดที่อยู่ของผู้ที่เราต้องติดต่อบ่อยๆ
ห้เรียกใช้ได้ทันที
10.10.1 การจดที่อยู่ เมื่อได้รับจดหมายของผู้ใด
เราอาจเก็บที่อยู่ของผู้นั้ได้เลย ดังนี้
1. คลิกที่จดหมายฉบับที่ต้องการเก็บที่อยู่
2. จากเมนู Message เลือกคำสั่ง Add to Address Book แล้วเลือก
Sender
3. เติมชื่อจริง ชื่อเล่น และรายการลงในช่องที่กำหนดตามต้องการ
4. กดปุ่ม OK
10.10.2 การนำที่อยู่จาก Address Book มาใช้
เมื่อต้องการส่งจดหมายถึงผู้ที่เรามีที่อยู่ใน Address Book ให้ทำดังนี้
1. เข้าสู่หน้าต่าง Composition ที่ใช้ส่งจดหมายตามปกติ
2. คลิกที่ปุ่ม Address บน Tool bar
3. เลือก Address ของผู้ที่ต้องการ
4. คลิกที่ปุ่ม To หรือ Cc หรือ Bcc เพื่อเลือกลักษณะการส่ง
5. คลิกปุ่ม OK
10.10.3 การเพิ่มที่อยู่ใน Address Book โดยตรง
1. จากเมนู Communicator เลือกคำสั่ง Address Book
2. จากเมนู File เลือกคำสั่ง New Card หรือ คลิกที่ไอคอน New Card
บน Tool bar
3. ป้อนรายการลงในช่องที่กำหนดตามต้องการ
4. กดปุ่ม OK



ที่มา:http://www.informatics.buu.ac.th/~wichai/101course/Internet/www.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น